วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557

​การศึกษาอิทธิพลของสื่อมวลชนไทยที่มีต่อประชาชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในเขตนครหลวงเวียงจันทน์

         ชื่อเรื่องการศึกษาอิทธิพลของสื่อมวลชนไทยที่มีต่อประชาชนในสาธารณรัฐประชาธิปไต
​     ประชาชนลาว ในเขตนครหลวงเวียงจันทน์
         คณะผู้วิจัยจันทร์เพ็ญ    สังทอง
               : ณภัสสรณ์อัครเกตุสวัสดิ์
             : สุพัตราพวงสุวรรณ
             : คมกริช ทรงสิริวิทย์

สังกัดสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ระดับการศึกษา :ปริญญานิเทศศาสตรบัณฑิต(นศ.บ.) สาขาวิชานิเทศศาสตร์(วารสารศาสตร์)
ปีการศึกษา: 2556
อาจารย์ที่ปรึกษาผศ.ดร.เสกสรร  สายสีสด

บทคัดย่อ

        การทำวิจัยเรื่อง การศึกษาอิทธิพลของสื่อมวลชนไทยที่มีต่อประชาชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในเขตนครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1).เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อมวลชนของประชาชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในเขตนครหลวงเวียงจันทน์ 2).เพื่อศึกษาอิทธิพลของสื่อมวลชนไทยที่มีต่อประชาชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในเขตนครหลวงเวียงจันทน์3).ความพึงพอใจต่อสื่อมวลชนไทยของประชาชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในเขตนครหลวงเวียงจันทน์


การดำเนินการวิจัยใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างขึ้นจากการค้นคว้าและดัดแปลงเอกสารงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในงานวิจัยโดยการศึกษาวิจัยเรื่องอิทธิพลของสื่อมวลชนไทยที่มีต่อประชาชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในเขตนครหลวงเวียงจันทน์ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น ตอน คือ ตอนที่ สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามตอนที่ พฤติกรรมการเปิดรับสื่อไทยตอนที่ 3 อิทธิพลของสื่อมวลชนไทยตอนที่ 4ความพึงพอใจต่อสื่อไทย และตอนที่ 5 ปัญหาและข้อเสนอแนะอื่นๆ

ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะทางด้านประชากรของกลุ่มตัวอย่างกลุ่มตัวอย่าง ประชาชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 400 คน แบ่งเป็นเพศชายร้อยละ48.5 เพศหญิงร้อยละ 51.5ส่วนใหญ่ มีอายุ 20 - 30 ปี คิดเป็นร้อยละ 56.8และเป็นนักเรียน นักศึกษาคิดเป็นร้อย 40.0ระดับการศึกษา ปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ34.0 รับสื่อทางโทรทัศน์มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 86.0
จากผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการรับสื่อทางโทรทัศน์ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 86.0 ส่วนใหญ่รับสื่อไทยมากกกว่าวันละ 1 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 68.5 โดยชอบรับสื่อผ่านช่องทาง โทรทัศน์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 71.5 ได้รับประโยชน์จากการรับสื่อไทยในระดับมาก คิดเป็นคิดเป็นร้อยละ 37.8 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รู้จักสถานีวิทยุไทยจำนวนมากที่สุด 1 สถานี คิดเป็นร้อยละ 61.3 ส่วนสถานีโทรทัศน์ไทยที่รู้จัก มากที่สุดได้แก่ช่อง 3 คิดเป็นร้อยละ 91.3 รองลงมาได้แก่ช่อง 7 คิดเป็นร้อยละ 79.3 นักแสดงชายที่ชื่นชอบมากที่สุด ได้แก่ เวียร์ศุกลวัฒน์ คิดเป็นร้อยละ 31.8 และนักแสดงหญิงไทยที่รู้จักมากที่สุด ได้แก่ อั้ม พัชราภา คิดเป็นร้อยละ 34.5  
ประชาชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในเขตนครหลวงเวียงจันทน์ส่วนใหญ่ คิดว่าสื่อไทยมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตในระดับมาก โดยมีการรับสื่อโทรทัศน์แล้วเปลี่ยนพฤติกรรมการแต่งกาย และนำเอาเทคโนโลยีข่าวสารที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันอยู่ในเกณฑ์มาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.06ส่วนอิทธิพลต่อจำนวนการรับข่าวสารจากสื่อในแต่ละวัน คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.03 มีการเรียนรู้ภาษาไทยจากสื่อ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.95 ส่วนระดับความสำคัญของสื่อไทยกับชีวิตประจำวัน คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.94 กลุ่มตัวอย่างดูโทรทัศน์แล้วเข้าใจในวัฒนธรรมไทย คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.92ตามลำดับ

ผลสำรวจด้านความพึงพอใจพบว่าประชาชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในเขตนครหลวงเวียงจันทน์ส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจต่อสื่อไทยอยู่ในเกณฑ์มากโดยมีความพึงพอใจต่อการรับสื่อประเภทวิทยุอยู่ในเกณฑ์มาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.98รองลงมาคือความพึงพอใจต่อการรับสื่อประเภทวารสาร คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.95ส่วนความพึงพอใจที่มีต่อเนื้อหาของสื่อไทย คิดเป็นค่าเฉลี่ย3.95นอกจากนี้ยังมีความพึงพอใจที่มีต่อการรับชมละครไทยอยู่ในเกณฑ์มาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.89รองลงมาคือมีความพึงพอใจในการนำเสนอข่าวสารจากสื่อไทย คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.76และมีความพึงพอใจต่อการรับสื่อประเภทโทรทัศน์คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.76 ตามลำดั










วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557


ชื่อเรื่อง          พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักปั่นจักรยานในจังหวัดอุดรธานี
คณะผู้วิจัย      1. เจนจิรา          ชาชิโย
                           2. อัจฉรา           อ่างคำ
                           3. ภานุเดช         ประเสริฐศรี
                           4. ธีราพร           สาศรีรัตน์
                           5. ศุภรัตน์          แพงมาลา
หน่วยงาน       มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
คณะ             วิทยาการจัดการ          
สาขาวิชา        นิเทศศาสตร์
ปีที่จัดพิมพ์     2557
ที่ปรึกษา        ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง พฤติกรรมนักปั่นจักรยานของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี  จังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้จักรยานในจังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาถึงปัญหาของผู้ใช้จักรยานในจังหวัดอุดรธานี 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้จักรยานในจังหวัดอุดรธานี โดยผู้วิจัยทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่ปั่นจักรยานในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยแบ่งออกเป็น 4 ตอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistics Package for the Social Sciences) โดยวิธีการหาค่าแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D) ผลการวิจัยพบว่า
1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 77.8 และเป็นเพศหญิง ร้อยละ 22.3 เป็นผู้มีอายุระหว่าง 18-25 ปี มากที่สุด ร้อยละ 30.5 อายุระหว่าง 56 ปีขึ้นไปน้อยที่สุด ร้อยละ 9.5 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด ร้อยละ 47.5 ระดับปริญญาเอกน้อยที่สุด ร้อยละ 0.5 มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา มากที่สุด ร้อยละ 33.5 และอาชีพเกษตรกรน้อยที่สุด ร้อยละ 2.5 เป็นผู้มีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 5,001-10,000 บาท มากที่สุด ร้อยละ 23.5 และมีรายได้ระหว่าง 30,001 บาทขึ้นไปน้อยที่สุด ร้อยละ 18.0
2. ข้อมูลพฤติกรรมนักปั่นจักรยานในจังหวัดอุดรธานีของกลุ่ม
พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความสนใจอยู่แล้ว ร้อยละ 53.5 เริ่มปั่นจักรยานมา 1-2 ปี มากที่สุด ร้อยละ 42.0 ใช้จักรยานเสือภูเขา (Mountain Bike) มากที่สุด ร้อยละ 48.5 ใช้จักรยานยี่ห้ออื่นๆที่ระบุเพิ่ม มากที่สุด ร้อยละ 32.3 ใช้จักรยาน 3-4 วัน / สัปดาห์มากที่สุด ร้อยละ 42.5 และปั่นจักรยาน 110 กิโลเมตร มากที่สุด ร้อยละ 33.8 ใช้จ่ายในการบำรุงรักษา 0500 บาท มากที่สุด ร้อยละ 59.8 เคยเข้าร่วมโครงการการปั่นจักรยาน มากที่สุด ร้อยละ 52.0 ไม่เคยเข้าร่วมการแข่งขันการปั่นจักรยาน มากที่สุด ร้อยละ 65.5 ทราบข้อมูลการเข้าร่วมการแข่งขันจากเพื่อนชักชวน มากที่สุด ร้อยละ 55.5 ปั่นจักรยานในช่วงเวลา 16.00–18.00 น. มากที่สุด ร้อยละ 66.0 ปั่นจักรยานในสวนสาธารณะ มากที่สุด ร้อยละ 47.5 และมีจักรยานส่วนตัว 2-3 คัน มากที่สุด ร้อยละ 44.5
3. ปัญหาของนักปั่นจักรยานในจังหวัดอุดรธานี
พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่พบเจอปัญหาด้านสภาพพื้นผิวถนน มากที่สุด ร้อยละ 42.5 พบเจอปัญหาด้านฝนตก มากที่สุด ร้อยละ 44.5 พบเจอปัญหาด้านไม่มีสินค้าที่ต้องการ มากที่สุด ร้อยละ 41.5 พบเจอปัญหาด้านปวดเมื่อยตามร่างกาย มากที่สุด ร้อยละ 60.0 พบเจอปัญหาด้านการดูแลรักษามากที่สุด ร้อยละ 45.3
4. ความพึงพอใจของนักปั่นจักรยานในจังหวัดอุดรธานี
พบว่า ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่ปั่นจักรยานในจังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก ลำดับแรกคือ ความชื่นชอบในการปั่นจักรยาน และในลำดับรองลงมาคือ ความปลอดภัยในการปั่นจักรยานบนท้องถนน

ภาพขณะเก็บแบบสอบถาม






วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจในการรับชมละครโทรทัศน์ไทยของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี


บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง                             การศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจในการรับชมละครโทรทัศน์ไทย
                                         ของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

คณะผู้วิจัย                       รัญญา   โพธิดอกไม้
                                        อรพิน    พรมภักดี
                                        จิรนันท์   ไชยอยู่
                                        กนกวรรณ   เหบขุนทด
                                        สามารถ  หวังยี

ระดับการศึกษา               ปริญญาตรี นิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.) สาขานิเทศศาสตร์
                                        (วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์)

สังกัด                              สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ปีการศึกษา                      2557

อาจารย์ที่ปรึกษา             ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด

....................................................................................................................................................................
               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับชมละครไทยของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ว่ามีคนสนใจมากน้อยเพียงใด เพื่อศึกษาผลกระทบของละครไทยที่ส่งผลกระทบต่อสังคมในปัจจุบัน เพื่อศึกษาความพึงพอใจการรับชมละครไทยของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี โดยในการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสำรวจแบบสุ่ม ประชาชน 5 ตำบล ซึ่งได้แก่ ตำบลหมากแข้ง ตำบลหนองบัว ตำบลบ้านจั่น ตำบลบ้านเลื่อม และตำบลนิคมสงเคราะห์  
               เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS  ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าเพศหญิง จำนวน 248 คน คิดเป็นร้อยละ 62.0 เพศชาย จำนวน 152 คน คิดเป็นร้อยละ 38.0 มีอายุระหว่าง 19-25 ปี จำนวน 253 คน คิดเป็นร้อยละ 63.2 มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท จำนวน  204 คน ร้อยละ 51.0 มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา จำนวน 268 คน ร้อยละ 67.0
               ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการเปิดรับชมละครไทยพบว่า มีการเปิดรับชมละคร 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์จำนวน 152 คน คิดเป็นร้อยละ 38.0 ชอบดูละครในช่วงละครหลังข่าว จำนวน 207 คน คิดเป็นร้อยละ 51.7 ติดตามละครทางช่อง 3 จำนวน 199 คน คิดเป็นร้อยละ 49.8 รับชมละครฉายตามวันเวลาปกติของช่องจำนวน 263 คน คิดเป็นร้อยละ 65.8 รับชมละครเรื่องพราว จำนวน 142 คน คิดเป็นร้อยละ 35.5 ชื่นชอบละครแนวตลก(Comedy) จำนวน 253 คน คิดเป็นร้อยละ 63.2 เลือกชมละครจากคู่พระนางที่ชื่นชอบ จำนวน 191 คน คิดเป็นร้อยละ 48.0  ชื่นชอบเวียร์ ศุกลวัฒน์ จำนวน 154 คน คิดเป็นร้อยละ 38.5 ชื่นชอบอั้ม พัชราภา จำนวน 205 คน คิดเป็นร้อยละ 51.2
               ด้านผลกระทบของละครไทย ได้รับแนวคิดจากการรับชมละครมากน้อยเพียงใดยู่ในระดับมาก(=3.80) รู้สึกมีความทันสมัยเมื่อรับชมละครไทยยู่ในระดับมาก(=3.73) เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเมื่อเห็นบทบาทของตัวละครอยู่ในระดับปานกลาง(=3.36) เปลี่ยนแปลงค่านิยมและรูปแบบในการดำเนินชีวิตตามตัวละครไทยอยู่ในระดับปานกลาง(=3.37) ได้รับอิทธิพลจากแฟชั่นการแต่งกายของนักแสดงอยู่ในระดับปานกลาง(=3.46) นักแสดงที่ชื่นชอบมีผลต่อการรับชมละครไทยอยู่ในระดับมาก(=3.74) เนื้อหาความรุนแรงความก้าวร้าวมีผลกระทบต่อท่านเพียงใดอยู่ในระดับปานกลาง(=3.30) ท่านชื่นชอบบทละครที่เน้นพระเอกข่มขื่นนางเอกอยู่ในระดับปานกลาง(=3.19) เมื่อท่านดูละครที่มีเนื้อหารุนแรงท่านรู้สึกว่าเป็นเรื่องธรรมดาอยู่ในระดับปานกลาง(=3.28)
               ด้านความพึงพอใจที่มีต่อละครไทย พึงพอใจการนำเสนอเนื้อหาของละครที่น่าสนใจอยู่ในระดับมาก(=3.88) พึงพอใจช่วงเวลาในการนำเสนอของละครไทยอยู่ในระดับมาก(=3.75) พึงพอใจจำนวนนักแสดงมีตามที่จินตนาการไว้อยู่ในระดับมาก(=3.60) พึงพอใจการตั้งชื่อละครได้น่าสนใจอยู่ในระดับมาก(=3.62) พึงพอใจภาพประกอบหน้าปกของละครได้น่าสนใจอยู่ในระดับมาก(=3.61) พึงพอใจในการจัดฉากของละครไทยอยู่ในระดับมาก(=3.56) พึงพอใจเนื้อหาของละครที่เป็นสาระให้กับผู้ชมอยู่ในระดับมาก(=3.73) พึงพอใจละครที่มีคุณธรรมจริยธรรมสามารถปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อยู่ในระดับมาก(=3.77)  พึงพอใจบทละครที่หลากหลายอยู่ในระดับมาก(=3.76) พึงพอใจบทบาทของนักแสดงอยู่ในระดับมาก(=3.71) พึงพอใจข้อคิดที่ได้รับจากการชมละครไทยอยู่ในระดับมาก(=3.65) พึงพอใจการจัดเรตติ้งของละครไทยอยู่ในระดับมาก(=3.74)  พึงพอใจระยะเวลาในการออกเผยแพร่ของละครไทยอยู่ในระดับมาก(=3.71)  พึงพอใจการใช้ภาษาในการสื่อสารของตัวละครอยู่ในระดับมาก(=3.67) ตามลำดับ
 

วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557


หัวข้องานวิจัย     การศึกษาภาวะการมีงานทำของบัณฑิตสาขาวิชา
                 นิเทศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ    
                 อุดรธานี ปีการศึกษา 2555-2556

ชื่อผู้วิจัย                อุษา ฉนุเฉลิม
                        วารุณี คำแสนแก้ว
                        สมฤทัย ดวงมะลุ
                        อนุศรา รินทรักษ์
                        ธัญญาภรณ์ ฤทธิธรรม

ระดับการศึกษา    ปริญญาตรี นิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.)       
นิเทศศาสตร์ (การประชาสัมพันธ์)

สังกัด                     นิเทศศาสตร์ 
                       
ปีการศึกษา           2557

อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ. ดร.เสกสรร สายสีสด

บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงภาวะการหางานทำของบัณฑิตนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของบัณฑิตนิเทศศาสตร์ คณะวิทยากากรจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีที่มีต่อสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดย ประชากรในการศึกษาคือบัณฑิตบัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปีการศึกษา 2555-2556            จำนวน 74 คน การสำรวจข้อมูลได้ดำเนินการเก็บข้อมูลจากบัณฑิตที่เข้า ร่วมซ้อมพิธีรับประทานปริญญาบัตรในวันที่ 24 ตุลาคม 2557 ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 74 คน โดย เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามภาวะการมีงานทำและการประกอบอาชีพของบัณฑิต และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ได้แก่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการสำรวจบัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปีการศึกษา 2555-2556 พบว่าส่วนใหญ่ไปสมัครงานจำนวน 65 คน ไม่พบปัญหาในการสมัครงานจำนวน 40 คน และพบปัญหาในการสมัครงานจำนวน 25 คนปัญหาที่พบมากที่สุดคือ เงินเดือน/ค่าตอบแทนต่ำกว่าวุฒิ จำนวน 9 คน
พบว่า บริษัท องค์กรเอกชนเป็นหน่วยงานที่บัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปีการศึกษา 2555-2556ไปสมัครงานมากที่สุด จำนวน 45 คน ส่วนใหญ่สมัครงานในด้านประชาสัมพันธ์จำนวน 27 คน จากการสมัครงานของบัณฑิต ทั้งหมด 65 คน พบว่า ได้งานทำ              จำนวน 46 คน
                ผลจากการสำรวจบัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปีการศึกษา 2555-2556 พบว่ามีบัณฑิตที่มีงานทำจำนวน 46 คน พบบัณฑิตที่ไม่มีงานทำจำนวน 19 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท องค์กรธุรกิจจำนวน 22 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานที่ตรงตามสาขาวิชา จำนวน 28 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในจังหวัดอุดรธานีจำนวน 36 คน มีรายได้ระหว่าง 10,000 -15,000 บาท จำนวน 24 คน ลักษณะงานส่วนใหญ่พบว่าเป็นงานด้านประชาสัมพันธ์จำนวน 16 คน ซึ่งบัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปีการศึกษา 2555-2556 ได้ทำงานตรงสาขาวิชาและมีความพึงพอใจกับงานที่ทำ จำนวน 23 คน ส่วนใหญ่สามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปใช้ในการประกอบอาชีพได้จำนวน 19 คน และบัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปีการศึกษา 2555-2556 ส่วนใหญ่คิดว่า สาขานิเทศศาสตร์ควรเพิ่มความรู้/ความสามารถ ในเรื่อง ทักษะการใช้เครื่องมือทางนิเทศศาสตร์จำนวน 26 คน ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพให้กับผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ผลการสำรวจบัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปีการศึกษา 2555-2556 พบว่าส่วนใหญ่มีงานทำแล้วจำนวน 52 คน ส่วนบัณฑิตที่ยังหางานไม่ได้ จำนวน 11 คนแบ่งออกเป็น อยู่ระหว่างรอคำตอบจากหน่วยงาน จำนวน 4 คน กำลังเตรียมตัวสอบเข้าทำงาน จำนวน 3 คน และกำลังเตรียมศึกษาต่อและยังไม่ประสงค์ทำงานจำนวน 2 คน บัณฑิตส่วนใหญ่ไม่ได้ศึกษาต่อจำนวน 21 คน ส่วนบัณฑิตที่ศึกษาต่อ จำนวน 1 คน ศึกษาในระดับสูงกว่าปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยของรัฐ เพื่อต้องการวุฒิที่สูงขึ้น
ผลการสำรวจบัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปีการศึกษา 2555-2556 พบว่า บัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มีความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มากเรียงตามลำดับได้ คือ การฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานประกอบการ (Mean = 4.49) อาจารย์เป็นกันเองกับนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอนมีความรู้ความสามารถ (Mean = 4.45) อาจารย์ที่ปรึกษาเอาใจใส่ในการดูแลนักศึกษา (Mean = 4.36) หลักสูตรมีความเหมาะสม (Mean = 4.34) พึงพอใจกับเนื้อหาวิชาที่สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ (Mean = 4.20) การเรียนรู้เน้นทักษะการปฏิบัติจริง (Mean = 4.15) กิจกรรมโฮมรูมแจ้งข่าวสาร แนะนำนักศึกษา (Mean = 4.01) การจัดศึกษาดูงานนอกสถานที่ (Mean = 3.96) ความพึงพอใจต่ออาคาร สถานที่ วัสดุ ครุภัณฑ์สาขา (Mean = 3.80) เปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าร่วมอบรมกับสมาคมวิชาชีพ (Mean = 3.76) และพึงพอใจกับห้องปฏิบัติการสาขาวิชานิเทศศาสตร์ (Mean = 3.73)

การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคของนักท่องเที่ยวจาก สปป.ลาวที่มาใช้บริการศูนย์การค้าเซนทรัลพลาซา อุดรธานี

ชื่อเรื่อง          การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคของนักท่องเที่ยวจาก สปป.ลาวที่มาใช้บริการศูนย์การค้าเซนทรัลพลาซา อุดรธานี
คณะผู้วิจัย        ปิยะ                  ชูชาติ
                        สิทธิโชค            ดีท่าโพธิ์
                        ปภัตตา             ศรีสุภา
                        ณัชชารีย์            อามาตย์พุฒิชัย
สาขาวิชา          นิเทศศาสตร์ (การประชาสัมพันธ์)
คณะ                 วิทยาการจัดการ             
หน่วยงาน         มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ปีที่จัดพิมพ์      2557
ที่ปรึกษา           ผศ.ดร.เสกสรร  สายสีสด
บทคัดย่อ
            การศึกษาวิจัยเรื่อง  การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคของนักท่องเที่ยวจาก สปป.ลาว ที่มาใช่บริการศูนย์การค้าเซนทรัลพาซาอุดรธานี  มีวัตถุประสงค์การวิจัย  1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการบริโภคของนักท่องเที่ยวชาวลาวที่มาใช้บริการศูนย์การค้าพลาซาเซนทรัลอุดรธานี  2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการบริโภคของนักท่องเที่ยวชาวลาวที่มาใช้บริการศูนย์การค้าเซนทรัลพลาซาอุดรธานี  โดยผู้วิจัยทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง กับ นักท่องเที่ยวจาก สปป.ลาว ที่มาใช่บริการศูนย์การค้าเซนทรัลพลาซาอุดรธานี จำนวน 400 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามโดยแบ่งออกเป็น 4 ตอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistics Package for the Social Sciences) โดยวิธีการหาค่าแจกแจงความถี่ (Frequency)  ค่าร้อยละ (Percentage)  ค่าเฉลี่ย ( )  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D)  ผลการวิจัยพบว่า
1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 242 คน คิดเป็นร้อยละ 60.5  และเพศชาย จำนวน 158 คน คิดเป็นร้อยละ 39.5 ตามลำดับ  กลุ่มตัวอย่างมีอายุ ไม่เกิน 25 ปีมากที่สุด จำนวน 144 คน คิดเป็นร้อยละ 36.0  อายุ 46 ปีขึ้นไปน้อยสุด จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 12.0 ตามลำดับ  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด จำนวน 158 คน คิดเป็นร้อยละ 39.5  และปริญญาเอกน้อยที่สุด  จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 3.3 ตามลำดับ  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษามากที่สุด จำนวน 116 คน คิดเป็นร้อยละ 29.0  และอาชีพแม่บ้านน้อยที่สุด  จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 3.5 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือน ไม่เกิน 15,000 บาท มากที่สุด จำนวน 157 คน คิดเป็นร้อยละ 39.3  และมากกว่า 100,000 บาท น้อยที่สุด  จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 0.8 ตามลำดับ
2. พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการในศูนย์การค้าเซนทรัลพลาซาอุดรธานี สรุปผลการวิจัย ได้ดังนี้
            การศึกษาวิจัยครั้งนี้พบว่า พฤติกรรมผู้บริโภคในการเข้าใช้บริการในศูนย์การค้าเซนทรัลพลาซา อุดรธานี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เข้าใช้บริการเดือนละ 1-2 ครั้งมากที่สุด จำนวน 181 คน คิดเป็นร้อยละ 45.3  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เข้าใช้บริการกับครอบครัวมากที่สุด จำนวน 156 คน คิดเป็นร้อยละ 39.0  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่นิยมซื้อสินค้าประเภทเสื้อผ้า/ของใช้ส่วนตัวมากที่สุด จำนวน 251 คน คิดเป็นร้อยละ 62.8  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่นิยมใช้บริการประเภทอาหารและเครื่องดื่มมากที่สุด จำนวน 201 คน คิดเป็นร้อยละ 50.3  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับข่าวสารผ่านสื่อบุคคลมากที่สุด จำนวน 250 คน คิดเป็นร้อยละ 62.5  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้งบประมาณ 1,001-5,000 บาทมากที่สุด จำนวน 201 คน คิดเป็นร้อยละ 50.3 และมากกว่า 10,000 บาท จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 7.5 ตามลำดับ  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคลมากที่สุด จำนวน 250 คน คิดเป็นร้อยละ 62.5  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เข้าใช้ช่วงเวลา 13:00-17:00 น. มากที่สุด จำนวน 187 คน คิดเป็นร้อยละ 46.8 และเวลา 18:00-21:00 น. น้อยที่สุด จำนวน 81 คน คิดเป็นร้อยละ 20.3 ตามลำดับ  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานี ไป-กลับ มากที่สุด จำนวน 303 คน คิดเป็นร้อยละ 75.8  รองลงมาคือ ค้าง 1-2 คืน จำนวน 77 คน คิดเป็นร้อยละ 19.3  และมากกว่า 2 คืน จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 5.0 ตามลำดับ
            3. ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อศูนย์การค้าเซนทรัลพลาซา อุดรธานี ด้านผลิตภัณฑ์ โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก  ลำดับแรก คือ ผลิตภัณฑ์มีสินค้าให้เลือกหลากหลาย และในลำดับสุดท้าย คือ ราคาผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมกับคุณภาพ
            4. ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อศูนย์การค้าเซนทรัลพลาซา อุดรธานี ด้านช่องทางการจำหน่ายและสถานที่ โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก  ลำดับแรก คือ ห้างตั้งอยู่ในแหล่งคมนาคม เดินทางสะดวก และในลำดับสุดท้าย คือ แผนกสินค้าชัดเจน
            5. ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อศูนย์การค้าเซนทรัลพลาซา อุดรธานี ด้านบุคลากร โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก  ลำดับแรก คือ การแต่งกายสุภาพ และในลำดับสุดท้าย คือ พนักงานมีความสามารถในการแนะนำสินค้า
            6. ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อศูนย์การค้าเซนทรัลพลาซา อุดรธานี ด้านสภาพโดยทั่วไป โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับ  ลำดับแรก คือ ภาพลักษณ์ของห้างที่ดูทันสมัย และในลำดับสุดท้าย คือ ที่จอดรถสะดวกสบาย

        7. ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อศูนย์การค้าเซนทรัลพาซ่าอุดรด้านการตลาด โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก  ลำดับแรก คือ การประชาสัมพันธ์กิจกรรมของห้างสรรพสินค้า และในลำดับสุดท้าย คือ ความพึงพอใจของการโฆษณาสินค้า 

ภาพกิจกรรมเก็บแบบสอบถาม

เก็บแบบสอบถามจาก นักท่องเที่ยว สปป.ลาว

แนะนำแบบสอบถามแก่ นักท่องเที่ยว สปป.ลาว

เก็บแบบสอบถาม ณ ลานจอดรถ ชั้น 3 ศูนย์การค้าเซนทรัลพลาซา อุดรธานี

รถส่วนบุคคลนักท่องเที่ยว สปป.ลาว ณ ลานจอดรถ ชั้น