ชื่อเรื่อง: การศึกษาอิทธิพลของสื่อมวลชนไทยที่มีต่อประชาชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว ในเขตนครหลวงเวียงจันทน์
คณะผู้วิจัย: จันทร์เพ็ญ สังทอง
: ณภัสสรณ์อัครเกตุสวัสดิ์
: สุพัตราพวงสุวรรณ
: คมกริช ทรงสิริวิทย์
สังกัด: สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ระดับการศึกษา :ปริญญานิเทศศาสตรบัณฑิต(นศ.บ.) สาขาวิชานิเทศศาสตร์(วารสารศาสตร์)
ปีการศึกษา: 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด
บทคัดย่อ
การทำวิจัยเรื่อง “การศึกษาอิทธิพลของสื่อมวลชนไทยที่มีต่อประชาชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในเขตนครหลวงเวียงจันทน์” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1).เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อมวลชนของประชาชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในเขตนครหลวงเวียงจันทน์ 2).เพื่อศึกษาอิทธิพลของสื่อมวลชนไทยที่มีต่อประชาชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในเขตนครหลวงเวียงจันทน์3).ความพึงพอใจต่อสื่อมวลชนไทยของประชาชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในเขตนครหลวงเวียงจันทน์
ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะทางด้านประชากรของกลุ่มตัวอย่างกลุ่มตัวอย่าง ประชาชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 400 คน แบ่งเป็นเพศชายร้อยละ48.5 เพศหญิงร้อยละ 51.5ส่วนใหญ่ มีอายุ 20 - 30 ปี คิดเป็นร้อยละ 56.8และเป็นนักเรียน นักศึกษาคิดเป็นร้อย 40.0ระดับการศึกษา ปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ34.0 รับสื่อทางโทรทัศน์มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 86.0
จากผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการรับสื่อทางโทรทัศน์ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 86.0 ส่วนใหญ่รับสื่อไทยมากกกว่าวันละ 1 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 68.5 โดยชอบรับสื่อผ่านช่องทาง โทรทัศน์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 71.5 ได้รับประโยชน์จากการรับสื่อไทยในระดับมาก คิดเป็นคิดเป็นร้อยละ 37.8 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รู้จักสถานีวิทยุไทยจำนวนมากที่สุด 1 สถานี คิดเป็นร้อยละ 61.3 ส่วนสถานีโทรทัศน์ไทยที่รู้จัก มากที่สุดได้แก่ช่อง 3 คิดเป็นร้อยละ 91.3 รองลงมาได้แก่ช่อง 7 คิดเป็นร้อยละ 79.3 นักแสดงชายที่ชื่นชอบมากที่สุด ได้แก่ เวียร์ศุกลวัฒน์ คิดเป็นร้อยละ 31.8 และนักแสดงหญิงไทยที่รู้จักมากที่สุด ได้แก่ อั้ม พัชราภา คิดเป็นร้อยละ 34.5
ประชาชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในเขตนครหลวงเวียงจันทน์ส่วนใหญ่ คิดว่าสื่อไทยมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตในระดับมาก โดยมีการรับสื่อโทรทัศน์แล้วเปลี่ยนพฤติกรรมการแต่งกาย และนำเอาเทคโนโลยีข่าวสารที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันอยู่ในเกณฑ์มาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.06ส่วนอิทธิพลต่อจำนวนการรับข่าวสารจากสื่อในแต่ละวัน คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.03 มีการเรียนรู้ภาษาไทยจากสื่อ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.95 ส่วนระดับความสำคัญของสื่อไทยกับชีวิตประจำวัน คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.94 กลุ่มตัวอย่างดูโทรทัศน์แล้วเข้าใจในวัฒนธรรมไทย คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.92ตามลำดับ
ผลสำรวจด้านความพึงพอใจพบว่าประชาชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในเขตนครหลวงเวียงจันทน์ส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจต่อสื่อไทยอยู่ในเกณฑ์มากโดยมีความพึงพอใจต่อการรับสื่อประเภทวิทยุอยู่ในเกณฑ์มาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.98รองลงมาคือความพึงพอใจต่อการรับสื่อประเภทวารสาร คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.95ส่วนความพึงพอใจที่มีต่อเนื้อหาของสื่อไทย คิดเป็นค่าเฉลี่ย3.95นอกจากนี้ยังมีความพึงพอใจที่มีต่อการรับชมละครไทยอยู่ในเกณฑ์มาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.89รองลงมาคือมีความพึงพอใจในการนำเสนอข่าวสารจากสื่อไทย คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.76และมีความพึงพอใจต่อการรับสื่อประเภทโทรทัศน์คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.76 ตามลำดับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น