วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจในการรับชมละครโทรทัศน์ไทยของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี


บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง                             การศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจในการรับชมละครโทรทัศน์ไทย
                                         ของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

คณะผู้วิจัย                       รัญญา   โพธิดอกไม้
                                        อรพิน    พรมภักดี
                                        จิรนันท์   ไชยอยู่
                                        กนกวรรณ   เหบขุนทด
                                        สามารถ  หวังยี

ระดับการศึกษา               ปริญญาตรี นิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.) สาขานิเทศศาสตร์
                                        (วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์)

สังกัด                              สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ปีการศึกษา                      2557

อาจารย์ที่ปรึกษา             ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด

....................................................................................................................................................................
               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับชมละครไทยของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ว่ามีคนสนใจมากน้อยเพียงใด เพื่อศึกษาผลกระทบของละครไทยที่ส่งผลกระทบต่อสังคมในปัจจุบัน เพื่อศึกษาความพึงพอใจการรับชมละครไทยของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี โดยในการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสำรวจแบบสุ่ม ประชาชน 5 ตำบล ซึ่งได้แก่ ตำบลหมากแข้ง ตำบลหนองบัว ตำบลบ้านจั่น ตำบลบ้านเลื่อม และตำบลนิคมสงเคราะห์  
               เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS  ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าเพศหญิง จำนวน 248 คน คิดเป็นร้อยละ 62.0 เพศชาย จำนวน 152 คน คิดเป็นร้อยละ 38.0 มีอายุระหว่าง 19-25 ปี จำนวน 253 คน คิดเป็นร้อยละ 63.2 มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท จำนวน  204 คน ร้อยละ 51.0 มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา จำนวน 268 คน ร้อยละ 67.0
               ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการเปิดรับชมละครไทยพบว่า มีการเปิดรับชมละคร 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์จำนวน 152 คน คิดเป็นร้อยละ 38.0 ชอบดูละครในช่วงละครหลังข่าว จำนวน 207 คน คิดเป็นร้อยละ 51.7 ติดตามละครทางช่อง 3 จำนวน 199 คน คิดเป็นร้อยละ 49.8 รับชมละครฉายตามวันเวลาปกติของช่องจำนวน 263 คน คิดเป็นร้อยละ 65.8 รับชมละครเรื่องพราว จำนวน 142 คน คิดเป็นร้อยละ 35.5 ชื่นชอบละครแนวตลก(Comedy) จำนวน 253 คน คิดเป็นร้อยละ 63.2 เลือกชมละครจากคู่พระนางที่ชื่นชอบ จำนวน 191 คน คิดเป็นร้อยละ 48.0  ชื่นชอบเวียร์ ศุกลวัฒน์ จำนวน 154 คน คิดเป็นร้อยละ 38.5 ชื่นชอบอั้ม พัชราภา จำนวน 205 คน คิดเป็นร้อยละ 51.2
               ด้านผลกระทบของละครไทย ได้รับแนวคิดจากการรับชมละครมากน้อยเพียงใดยู่ในระดับมาก(=3.80) รู้สึกมีความทันสมัยเมื่อรับชมละครไทยยู่ในระดับมาก(=3.73) เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเมื่อเห็นบทบาทของตัวละครอยู่ในระดับปานกลาง(=3.36) เปลี่ยนแปลงค่านิยมและรูปแบบในการดำเนินชีวิตตามตัวละครไทยอยู่ในระดับปานกลาง(=3.37) ได้รับอิทธิพลจากแฟชั่นการแต่งกายของนักแสดงอยู่ในระดับปานกลาง(=3.46) นักแสดงที่ชื่นชอบมีผลต่อการรับชมละครไทยอยู่ในระดับมาก(=3.74) เนื้อหาความรุนแรงความก้าวร้าวมีผลกระทบต่อท่านเพียงใดอยู่ในระดับปานกลาง(=3.30) ท่านชื่นชอบบทละครที่เน้นพระเอกข่มขื่นนางเอกอยู่ในระดับปานกลาง(=3.19) เมื่อท่านดูละครที่มีเนื้อหารุนแรงท่านรู้สึกว่าเป็นเรื่องธรรมดาอยู่ในระดับปานกลาง(=3.28)
               ด้านความพึงพอใจที่มีต่อละครไทย พึงพอใจการนำเสนอเนื้อหาของละครที่น่าสนใจอยู่ในระดับมาก(=3.88) พึงพอใจช่วงเวลาในการนำเสนอของละครไทยอยู่ในระดับมาก(=3.75) พึงพอใจจำนวนนักแสดงมีตามที่จินตนาการไว้อยู่ในระดับมาก(=3.60) พึงพอใจการตั้งชื่อละครได้น่าสนใจอยู่ในระดับมาก(=3.62) พึงพอใจภาพประกอบหน้าปกของละครได้น่าสนใจอยู่ในระดับมาก(=3.61) พึงพอใจในการจัดฉากของละครไทยอยู่ในระดับมาก(=3.56) พึงพอใจเนื้อหาของละครที่เป็นสาระให้กับผู้ชมอยู่ในระดับมาก(=3.73) พึงพอใจละครที่มีคุณธรรมจริยธรรมสามารถปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อยู่ในระดับมาก(=3.77)  พึงพอใจบทละครที่หลากหลายอยู่ในระดับมาก(=3.76) พึงพอใจบทบาทของนักแสดงอยู่ในระดับมาก(=3.71) พึงพอใจข้อคิดที่ได้รับจากการชมละครไทยอยู่ในระดับมาก(=3.65) พึงพอใจการจัดเรตติ้งของละครไทยอยู่ในระดับมาก(=3.74)  พึงพอใจระยะเวลาในการออกเผยแพร่ของละครไทยอยู่ในระดับมาก(=3.71)  พึงพอใจการใช้ภาษาในการสื่อสารของตัวละครอยู่ในระดับมาก(=3.67) ตามลำดับ
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น