รายงานการวิจัยเรื่อง ความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดอุดรธานีที่มีต่อช่อง 3 อนาล็อก (จอดำ)
เรื่อง : ความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดอุดรธานีที่มีต่อช่อง
3
อนาล็อก (จอดำ)
คณะผู้วิจัย : นางสาวอภิญญา ชาหารเวียง
นางสาวฝนแก้ว วัฒนเสนีย์
นางสาวฐิติมา ปุรัสกาญจน์
สาขา : นิเทศศาสตร์
ปีการศึกษา
: 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.เสกสรร สายสีสด
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดอุดรธานีที่มีต่อช่อง
3 อนาล็อก(จอดำ)”โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดอุดรธานีที่มีต่อช่องสามอนาล็อก
(จอดำ)และศึกษาการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับระบบทีวีดิจิตอลในจังหวัดอุดรธานีและศึกษาความพึงพอใจต่อการรับชมทีวีดิจิตอลในจังหวัดอุดรธานี
โดยผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือข้อมูลทั่วไปของประชาชนผู้ตอบแบบสอบถาม เพศ อายุ อาชีพ
ระดับการศึกษา และรายได้
ความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดอุดรธานีที่มีต่อช่อง 3 อนาล็อก การรับรู้เกี่ยวกับทีวีดิจิตอล และความพึงพอใจต่อการชมรายการทีวีดิจิตอล โดยการเลือกประชาชนในเขต เทศบาลนครอุดรธานี
ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป
จากนั้นส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 ชุด
ได้รับแบบสอบถามกลับคืน 400 ชุด
ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ
ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
ความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดอุดรธานีที่มีต่อช่อง
3 อนาล็อก (จอดำ)ของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 18-25 ปี เป็นกลุ่มประชากรที่มีความสนใจเกี่ยวกับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นที่มีต่อช่อง
3 อนาล็อก (จอดำ)มากที่สุด ทั้งนี้ผู้ให้ความสนใจเกี่ยวกับ ช่อง 3 อนาล็อก (จอดำ) นั้นมักจะเป็นนักเรียนนักศึกษา เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับด้านนี้โดยตรงในด้านการศึกษาจึงติดตามข่าวสารในด้านนี้เป็นพิเศษ
ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่มีการรับรู้ข่าวสารการปรับเปลี่ยนจากทีวีอนาล็อกเป็นระบบทีวีดิจิตอลนั้นมีอยู่ในระดับมากถึงร้อยละ
62.8 และรับทราบว่าในปัจจุบันคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ (กสทช.) กำลังดำเนินการออกใบอนุญาตสำหรับช่องสัญญาณสำหรับทีวีดิจิตอล
อยู่ในระดับปานกลาง และการเพิ่มช่องรายการเมื่อเปลี่ยนเข้าสู่ระบบทีวีดิจิตอลแล้วจะทำให้จำนวนช่องในการรับชมมีเพิ่มมากขึ้นและแบ่งเป็นช่องรายการตามความเหมาะสมโดยประเภทชุมชน
12 ช่อง ประเภทสาธารณะจำนวน 12 ช่อง และประเภทธุรกิจจำนวน 24 ช่อง
ในเรื่องนี้ประชาชนมีความเข้าใจในเรื่องนี้ในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 51.8 และในด้านความเข้าใจและการรับรู้เกี่ยวกับการรับสัญญาทีวีดิจิตอลว่าต้องทำการอย่างไรและทีวีรุ่นไหนที่สามารถรับชมได้ซึ่งในส่วนนี้
ประชนชนมีความเข้าใจด้านการรับสัญญาณน้อยคิดเป็นร้อยละ 24.5
ส่วนการแจกคูปองลดราคากล่องรับสัญญาณนั้น ประชาชนมีความเห็นว่าเกิดความยุ่งอยากในการรับคูปองน่าจะเปลี่ยนเป็นรับกล่องโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มน่าจะเป็นการดีกว่าคิดเป็นร้อยละ
87.8
ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้สังเกตได้ว่า พฤติกรรมการเปิดรับทีวีดิจิตอลจะเป็นจุดเริ่มต้นในการกระตุ้นให้ประชาชนรู้จักการเตรียมความพร้อมศึกษาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับทีวีดิจิตอลให้เพิ่มมากขึ้น
และสามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น